นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

หน้าแรก

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ยอดคำสอน หลวงปู่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง



ยอดคำสอน หลวงปู่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

ยอดคำสอน เป็นคำสอน เป็นคติ
เป็นปรัชญาสั้นๆ ที่คมลึกซึ้ง
ใครได้ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง
และบางครั้งอาจจะถึงกับอุทาน ออกมาว่า
ท่านคิดและกลั่นกรองคำเหล่านี้ออกมาจากจิตได้อย่างไร
ถ้าจิตนั้นไม่บริสุทธิ์แจ่มใสเยี่ยงผู้บรรลุธรรม
ขอท่านได้สังเกตคำสอน ต่อไปนี้.-

พระพุทธศาสนา Buddhism (Part 5)(The Final)




ทรงโปรดช้างนาฬาคีรี ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตศิษย์ทรยศของพระพุทธองค์ได้ติดสินบนควาญช้างให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี เพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ตามแผนการ แต่ด้วยเมตาจิตของพระพุทธองค์ ช้างตกมันก็หายพยศ กลับคุกเข่าลงหมอบลงตรงพระพักตร์พระพุทธองค์

พระพุทธศาสนา Buddhism (Part 4)




ทรงเปิดประชุมจาตุรงคสันนิบาต Hreurnongcsannibre Meeting ในตอนบ่ายแห่งวันเพ็ญเดือนมาฆะวันนั้นขณะที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากถ้ำสูกรขตา ข้างเขาคิชฌกูฏมาถึงพระเวฬุวันวิหารพระสงฆ์อรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ก็ได้มาชุมนุม พร้อมกันเฉพาะพระพักตร์ต่างองค์ต่างมุ่งมาเฝ้าพระพุทธองค์ในเวลาเดียวกัน ซึ่งการประชุมสงฆ์ครั้งนี้ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ

(๑.) วันนั้นเป็นวันมาฆปุณณมี วันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน มาฆะ
(๒.) พระอริยสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
(๓.) พระอริยสงฆ์ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
(๔.) พระอริยสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุคือ ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์เอง

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขันติวาทิชาดก (โทษที่ทำร้ายพระสมณะ)(นิทานชาดก-บทแทรก)



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "โย เต หตฺเถ จ ปาเท จ" ดังนี้.

เรื่องได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ก็ในที่นี้ พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า "เธอบวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ไม่โกรธ เพราะเหตุไร จึงกระทำความโกรธเล่า โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อเครื่องประหารตั้งพันตกลงบนร่างกาย เมื่อถูกเขาตัดมือเท้า หู และจมูก ก็ยังไม่กระทำความโกรธแก่คนอื่น" แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้ากาสีพระนามว่ากลาปุ ทรงครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ เป็นมาณพชื่อว่ากุณฑลกุมาร เมื่อโตขึ้นได้เล่าเรียนศิลปะทุกอย่างในนครตักศิลาแล้วรวบรามทรัพย์สมบัติตั้งตัว เมื่อบิดามารดาล่วงลับไปจึงมองดูกองทรัพย์แล้วคิดว่า...“ญาติทั้งหลายของเราทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นแล้วไม่ถือเอาไปเลย แต่เราควรจะถือเอาทรัพย์นั้นไป”...จึงจัดแจงทรัพย์ทั้งหมดให้ทรัพย์แก่คนที่ควรให้ ด้วยอำนาจการให้ทาน แล้วเข้าไปบวชที่ป่าหิมพานต์ เลี้ยงอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลาผลไม้อยู่เป็นเวลาช้านาน เมื่อต้องการจะเสพรสเค็มและรสเปรี้ยวจึงไปยังถิ่นมนุษย์ ถึงนครพาราณสีโดยลำดับ แล้วอยู่ในพระราชอุทยาน.

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปาฏิหารย์แห่งการสวดมนต์ Miracle of Prayer



ปัจจุบันนี้ ชาวพุทธส่วนใหญ่นิยมสวดมนต์ทั้งที่บ้าน ที่วัด ที่โรงเรียน ที่ทำงาน และในรถ บางคนมีศรัทธาช่วยกันเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์แจกตามที่ต่างๆ เพราะมีประสบการณ์และพบปาฏิหาริย์ทางใจจากการสวดมนต์เป็นประจำ
หากใครได้เคยไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่อินเดีย โดยเฉพาะที่พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จะเห็นภาพของชาวพุทธทั้งชาวธิเบต อินเดีย ไทย จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ชาวตะวันตกพากันสวดมนต์ด้วยภาษาของตน ดังกึกก้องไปทั่วบริเวณ

แม้ว่าจะสวดคนละภาษาก็จริง ถึงอย่างนั้นเสียงก็ดังกังวานไปทั่ว

แต่เชื่อหรือไม่ว่า ไม่มีใครบ่นว่าหนวกหู หรือเกิดความไม่พอใจจากเสียงรบกวนกัน แต่ละคณะเมื่อมาถึงก็สวดด้วยภาษาของตน เป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากพลังแห่งความศรัทธา เป็นเสียงที่มีพลังความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เกิดปีติขนลุกโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดบรรยากาศอันอิ่มบุญและสุขใจอย่างบอกไม่ถูก

หรือแม้ขณะกำลัง นั่งรถเดินทางไปทัศนศึกษาสถานที่สำคัญ ชาวพุทธก็นิยมสวดมนต์ในรถไปด้วย เพื่อเป็นพุทธานุสสติในการไปเยือนถิ่นอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนพุทธภูมิ ที่สำคัญคือ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วย

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เอตทัคคะผู้เป็นรัตตัญญูรู้ราตรีนาน




บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
ปลายแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระอุบัติขึ้นในโลก มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร เสด็จเที่ยวภิกษาในคามนิคมและราชธานี เพื่อสงเคราะห์มหาชน เมื่อเสด็จถึงกรุงหังสวดี มหาราชาผู้เป็นพระพุทธบิดา ทรงทราบข่าวว่าพระศาสดานั้นเสด็จมา จึงได้เสด็จออกไปต้อนรับ พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถา แด่พระพุทธบิดา จบเทศนาบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต พระราชาทรงนิมนต์พระทศพล เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้นทรงให้แจ้งเวลาภัตตาหาร ได้ถวายมหาทาน ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร พระศาสดาทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้วเสด็จไปพระวิหารตามเดิม โดยทำนองนั้นนั่นแล ได้ถวายทานตลอดกาลยืดยาวนาน คือ วันรุ่งขึ้นชาวเมืองถวาย วันรุ่งขึ้นต่อไปพระราชาถวาย

ครั้งนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล กรุงหังสวดี

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระพุทธศาสนา Buddhism (Part 3)




ทรงโปรดชาวเมืองพาราณสี ต่อมา เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปนะมฤคทายวัน อันเป็นพรรษาแรกนั้นเอง พระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงอนุปทาพิกถาโปรดกุลบุตรชื่อ "ยสะ" ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีให้ได้บรรลุ พระอรหันตตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๗ ในโลก ทั้งได้ทรงแสดงโปรดเศรษฐีบิดาพระยสะให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก และ นับเป็นอุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนาที่ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ทั้งได้โปรดมารดาและภรรยาของท่านยสะให้เลื่อมใส ได้ประกาศตนเป็นอุบาสิกา ซึ่งเป็นอุบาสิกาคู่แรกในพระพุทธศาสนาที่ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ต่อแต่นั้นมา ๒-๓ วัน พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี ผู้เป็นสหายของท่านยสะทั้ง ๔ คน ชื่อ วิมละ สุพาหุ ปณณชิ และควัมปติ ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระอรหันต์ในโลกจำนวน ๑๑ องค์ ต่อมาอีกไม่นานนัก สหายของท่านยสะซึ่งเป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คน ก็ได้บวชตามยสะ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้อุปสมทบด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั่วทุกองค์ นับจำนวนพระอรหันต์ในโลกเพิ่มขึ้นเป็น ๖๑ องค์

พระพุทธศาสนา Buddhism (Part 2)



ทรงแสวงหาโมกขธรรม He sought Oamukh fair และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา His asceticism ต่อมาพระสิทธัตถะได้เสด็จออกจากอนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ แล้วไปยังที่ต่างๆ จนถึงเขตกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อแสวงหาโมกขธรรม (ความพ้นทุกข์) ครั้งเสด็จเข้าไปอบรมศึกษาใน สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และสำนักอุทกดาบสรามบุตร ทรงเห็นว่าลัทธิของ ๒ สำนักนั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ใด จึงทรงอำลาจากสำนักดาบสทั้งสองนั้น เสด็จจารึกแสวงหาโมกขธรรมต่อไปจนถึง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันมีแม่น้ำเนรัญชราไหลผ่าน ได้ประทับอยู่ในป่า ณ ตำบลนี้ ทรงเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยประการต่างๆ อย่างเคร่งครัด แต่ก็ไม่ทรงพบทางพ้นทุกข์ได้ ในเวลานั้น พวกปัญจวัคคีย์ คือ ภิกษุ ๕ รูป อันได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ มีความเลื่อมใสในพระสิทธัตถะด้วยเชื่อว่าพระองค์ จนได้สำเร็จ เป็นพระพุทธเจ้า จึงได้พากันมาเฝ้าปฏิบัติพระองค์ด้วยความเคารพ

สมาธิ ขั้นต้น Initial Concentration




ความหมายของสมาธิ The Meaning of Meditation

ความหมายของการเจริญสมาธิภาวนาในระดับต่างๆ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แบ่งได้เป็น ๗ อย่าง

๑ การฝึกกรรมฐานนั้นมี ๒ อย่าง
๒ ประโยชน์ของการฝึกสมาธิภาวนา
๓ ความหมายของสมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนา (ภาวนา ๒)
๔ ความหมายในทางพุทธเกี่ยวกับการฝึกภาวนาทำได้หลายอย่าง (ภาวนา ๔)
๕ สมาธิภาวนาแบบกรรมฐานแบ่งเป็น ๓ ขั้น (ภาวนา ๓)
๖ เครื่องมือกำหนดจิตเพื่อใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน (นิมิต ๓)
๗ ระดับขั้นต่างๆ ของสมาธิ และการได้ฌาน

บทคาถาว่าด้วยการแผ่เมตตา With chapters that spell think




บทคาถาว่าด้วยการแผ่เมตตา

แบ่งเป็น ๕ ประเภท ด้วยกัน มีดังนี้

๑ คาถาแผ่เมตตา
๒ คาถาแผ่เมตตาตนเอง
๓ คาถาแผ่เมตตาพรหมวิหารสี่
๔ คาถาแผ่ส่วนกุศล
๕ บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

แผ่เมตตา Wish Happiness to All Creatures



ความหมายและคุณค่า

เมตตา หมายถึงความรัก ความปรารถนาดี ต้องการให้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยปราศจาก ความอิจฉาริษยา และหมายถึงความมีไมตรีจิตต่อกันด้วยความจริงใจฐานมิตร ดังนั้น การแผ่เมตตาจึงได้แก่การส่ง กระแสจิตของตนไปสู่ผู้อื่นทั้งที่เป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์ด้วยความหวังดีที่จะให้เขามีความสุข ได้รับความสมหวังในชีวิต เป็นการแสดงออกซึ่งน้ำใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมของผู้แผ่เมตตา

การแผ่เมตตา เป็นสิ่งที่โบราณบัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติต่อกันมาตามลำดับ เพราะเห็นประโยชน์ว่า การแผ่ เมตตานี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นประจำมีจิตใจอ่อนโยน เยือกเย็นลงได้ และทำให้มองเห็นว่าการที่มนุษย์หวังดีต่อกันนั้นเป็นทางนำให้โลกเกิดสันติสุขได้ และเมื่อตัวเองได้รับความสุขแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องการให้เพื่อนร่วมโลกได้รับความสุขอย่างนั้นบ้าง จึงได้แผ่กระแสจิตอันเยือกเย็นและอ่อนโยนนั้นไปยังผู้อื่น ผู้ได้รับเมตตาจิตนั้นแล้วก็จะพลอยมีจิตอ่อนโยน เยือกเย็น และได้พบกับความสุขทางใจไปด้วย

พระพุทธศาสนา Buddhism (Part 1)(The Beginning)

 



THE LIFE OF THE LORD BUDDHA (พุทธประวัติ)
พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนาแห่งความรู้ เพราะเกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาองค์สำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งของโลก พระพุทธเจ้านั้นเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางมหามายา มีประวัติความเป็นมาปรากฎตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดแจ้ง พระประวัติของพระพุทธองค์นั้นพึงทราบโดยสังเขปดังต่อไปนี้


ชาติภูมิ ทางภาคเหนือสุดของชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) มีรัฐที่อุดมสมบูรณ์รัฐหนึ่งชื่อ"สักกะ"หรือ"สักกชนบท"ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำโรหิณี ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศเนปาล กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของรัฐนี้ กษัตริย์ศากยวงศ์ทรงปกครองรัฐนี้สืบต่อกันมาโดยลำดับ จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าสีหนุ ซึ่งมีพระนางกัญจนาเป็นพระอัครมเหสี ต่อมา พระเจ้าสีหนุได้ทรงจัดให้พระราชโอรสองค์ใหญ่พระนามว่า สุทโธทนะ ได้อภิเษกสมรสกับพระนางมหามายา พระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ และพระนางยโสธราอัครมเหสีแห่งกรุงเทวะทหะ โดยทรงประกอบพระราชพิธีขึ้น ณ อโศกอุทยาน กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระเจ้าสีหนุสวรรคตแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ต่อมา

ศาสนา (อังกฤษ: Religion)




ศาสนา (อังกฤษ: religion) หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป แล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ ให้มีหลักการ ค่านิยม วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศิลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

สำหรับประเทศไทย ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทุกศาสนา ศาสนาสำคัญ และมีคนนับถือมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์