นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

หน้าแรก

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศาสนา (อังกฤษ: Religion)




ศาสนา (อังกฤษ: religion) หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป แล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ ให้มีหลักการ ค่านิยม วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศิลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

สำหรับประเทศไทย ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทุกศาสนา ศาสนาสำคัญ และมีคนนับถือมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์


นอกจากการนับถือศาสนาแล้ว ยังมีความเชื่อไม่นับถือศาสนาด้วย เรียก "อศาสนา" (อังกฤษ: irreligion) และผู้ไม่นับถือศาสนาเรียก "อศาสนิก" (อังกฤษ: irreligious person)

องค์ประกอบของศาสนา
#สิ่งเคารพสูงสุด
#ศาสดา
#คัมภีร์
#ผู้สืบทอด
#ศาสนสถาน
#สัญลักษณ์
#พิธีกรรม

ความสำคัญของศาสนา
บอกถึงหลักอภิปรัชญา ว่าโลกนี้เกิดขึ้นมาจากอะไร และจะเป็นเช่นไร
สอนหลักคุณธรรมศีลธรรมจริยธรรมของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกัน
ให้รู้จักการดำเนินชิวิตเช่นไรจึงจะถูกต้อง
มีเป้าหมายในชีวิต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่เพียงแต่เกิดมาเพื่อกิน และเสพกามเท่านั้น
หลักศรัทธา ว่าทำดีได้รางวัลคือขึ้นสวรรค์ ทำชั่วได้โทษคือตกนรก ทำให้แม้จะลับตาคนไร้กฎหมายก็ไม่ทำชั่วทำแต่ดี
เป็นที่พึ่งทางใจ ในยามชีวิตประสบปัญหาสิ้นหวัง ไร้กำลังใจ หรือปลอบประโลม ผู้สูญเสีย บุคคลอันเป็นที่รัก
เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี

พัฒนาการของศาสนา
มีความเชื่อว่าศาสนานั้นเกิดมาจากความต้องการเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ นับแต่อดีดมนุษย์จะสงสัยว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำไมต้องเกิดขึ้น จะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เปลี่ยนแปลงแล้วจะเกิดผลอะไรต่อมาอีก จนนำมาสู่การค้นหาแนวทางต่างๆเพื่อตอบปัญหาเหล่านี้ จนนำมาเป็นความเชื่อและเลื่อมใส ตัวอย่างเช่นศาสนาพุทธ เกิดจากเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นความทุกข์ จึงทรงหาแนวทางให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ด้วยวิธีการต่างๆนานา จนทรงค้นพบอริยสัจ 4 ด้วยวิธีที่ เป็นการฝึกจิตด้วยสติจนถึงซึ่งความรู้แจ้ง ในสรรพสิ่ง และความดับความทุกข์ ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับสิ้นซึ่งกิเลส ทรงสอนให้มนุษย์ ให้ทำบุญ รักษาศีล และภาวนา เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการพ้นทุกข์ของมหาชน อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาในปัจจุบัน คำอธิบายของการเกิดขึ้นและพัฒนาการของศาสนา สามารถแบ่งได้เป็นสี่กลุ่ม

#ศาสนาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความกลัว ในธรรมชาติที่ตนเองไม่รู้ จนต้องวิงวอนและร้องขอในสิ่งที่อยากได้
#ศาสนาเกิดจากความไม่รู้สงสัย ในอภิปรัชญาว่าโลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะเป็นเช่นไรต่อไป
#ศาสนาเกิดจากความต้องการที่จะสร้างความเชื่อขึ้นมา เพื่อช่วยควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้สังคมสงบสุข
#ศาสนาเกิดจากความต้องการที่จะพ้นจากความทุกข์ เช่นความอดอยาก โรคระบาด ความแก่ ความตาย การสูญเสีย

ปรัชญาศาสนา
ศาสนาของโลกถ้าแบ่งตามลักษณะปรัชญาที่คล้ายคลึงกัน แบ่งได้ 2 ลักษณะ

# ศาสนาที่ยึดถือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด

กลุ่นศาสนาที่นิยมเรียกว่า ปรัชญาตะวันตก โดยถือตามอิทธิพลในการรับอารยธรรม ได้แก่ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนายูดาย (ยิว) ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาซิกข์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาฮินดูศาสนาพราหมณ์ (แบบเก่า) ศาสนากลุ่มนี้มีลักษณะที่คล้ายกันคือ

พระเจ้าคือสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาสูงสุด ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ ถ้าพระองค์ไม่ประสงค์
ศาสนิกต้องแสดงความรักหรือภัคดีต่อพระเจ้าด้วยการสรรเสริญ ปฏิบัติตามที่พระองค์ประสงค์ที่ได้ตรัสผ่านศาสนทูตของพระเจ้า
อาจขอให้ทรงไถ่บาป อ้อนวอนให้ทรงประทานสิ่งที่ดีแก่ชีวิต
เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้าง สร้างสรรพสิ่ง กำหนดสภาวการณ์ที่เป็นไปของโลก แต่ทรงปล่อยให้มนุษย์เลือกทางแห่งตนเอง โดยจะทรงช่วยเมื่อมนุษย์ลงมือกระทำ
ก่อนที่จะเชื่อให้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เมื่อเชื่อแล้วอย่าสงสัย เพราะพระเจ้าจะทรงทดสอบจิตใจในศรัทธา
เมื่อถึงวันสิ้นโลกพระเจ้าจะทำลายทุกสิ่ง ที่พระองค์สร้างขึ้น และจะชุบชีวิตทุกคนให้ฟื้นคืนชีพมารับฟังคำพิพากษา ผู้เชื่อจะรอด และอยู่กับพระองค์ชั่วนิรันดร์ ผู้ไม่เชื่อ จะถูกลงทัณฑ์ให้ตกนรกชั่วกาล
ให้วางใจในพระเจ้า รับพระองค์เข้าไว้ในใจจะพบแต่สันติสุข

# ศาสนาที่มุ่งเข้าถึงความจริงสูงสุด

กลุ่มศาสนาที่นิยมเรียกว่าปรัชญาตะวันออก โดยถือตามอิทธิพลในการรับอารยธรรม ได้แก่ศาสนาพุทธทั้งเถรวาท นิกายเซนและวัชรยาน ศาสนาเชน ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ศาสนากลุ่มนี้มีลักษณะที่คล้ายกันคือ

เชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองตามกฎธรรมชาติ สรรพสิ่งแท้จริงเป็นเพียงความว่างเปล่า
ความจริงแท้ไม่อาจอธิบายได้ด้วยคำพูด และไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยหลักตรรกะหรือเหตุผล
การเข้าถึงความจริงแท้ทำได้ด้วยการบรรลุปัญญาญาณ จากการไม่ติดอยู่ในมายาของเหตุผล
เชื่อในการไม่สิ้นสุด เชื่อในการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อในกฎแห่งกรรม
มีหลักคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ที่มักน้อยสันโดษพอเพียง ยึดถือหน้าที่ มีวันัยสูงไม่เห็นแก่ตัว แต่ไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง มุ่งละกิเลส
เชื่อในตัวมนุษย์ว่าเข้าถึงความจริงได้ ทุกสิ่งเกิดจากการกระทำของตนเอง เชื่อในศาสตร์ลี้ลับ (เวทมนตร์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์) ว่ามีจริง
เชื่อว่าถ้าจิตวิญญาณเข้าถึงความจริงสูงสุดจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
ทั้งสองกลุ่มมีความเชื่อที่ไม่เหมือนกันคือกลุ่มแรกยอมรับว่าองค์สูงสุดมีอยู่จริง เช่นศาสนาคริสต์และอิสลามเรียกองค์สูงสุดว่าพระเจ้า ผู้นับถือมีเป้าหมายเพื่อการเข้าไปรวมอยู่ในอาณาจักรของพระเจ้า ส่วนกลุ่มหลังเช่นศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ไม่ยอมรับการมีอยู่ของพระเจ้าหรือองค์สูงสุด แต่เชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้า (เหล่าพรหมา) ซึ่งเป็นเทวดาชั้นสูงสุดเรียกว่าพรหม แต่ต่างกันตรงที่ผู้ที่นับถือศาสนาศาสนาพุทธไม่มีเป้าหมายเพื่อการไปรวมอยู่กับพรหม แต่สามารถไปเกิดเป็นพรหมได้ เพราะการรวมอยู่หรือไปเกิดเป็นพรหม เมื่อหมดเหตุปัจจัยก็ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ อันมีต่ำสุดคือนรก สูงสุดคือพรหม อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทางที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏได้จึงมีทางเดียวเท่านั้นคือ นิพพาน

ประเภทศาสนา
ศาสนาในโลกถึงแม้จะมีมาก แต่ถ้าจัดเป็นประเภทก็ได้เป็น 2 ประเภท คือ

# เทวนิยม
เชื่อว่ามีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าเทพเจ้าทั้งหลาย หรือเรียกกันว่าพระเจ้า มีพระเจ้าสูงสุด เพียงพระองค์เดียว พระองค์เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งและเชื่อกันว่าพระเจ้าอาจติดต่อมนุษย์ โดยผ่านศาสดาพยากรณ์หลายองค์ เช่น พระอัลเลาะห์ ทรงติดต่อกับท่านนบีมุฮัมหมัด พระยะโฮวาห์ ทรงติดต่อกับ ท่านโมเสส และพระเยซู ส่วนบางศาสนาก็นับถือพระเจ้า หรือเทพเจ้าหลายองค์ อย่าง ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระเจ้าอวตารแยกเป็น3องค์ เป็นต้น ศาสนาแบบเทวนิยม ได้แก่
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
ศาสนายูดาย
ศาสนาซิกข์
ศาสนาบาไฮ
ศาสนาโซโรอัสเตอร์
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

# อเทวนิยม
ศาสนาประเภทนี้ ไม่เชื่อในการมีอยู่จริงของพระเจ้า โดยเชื่อว่าโลกและสรรพสิ่งเกิดขึ้นเองตามกฎของธรรมชาติ เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย ศาสนาประเภทนี้ ได้แก่
ศาสนาพุทธ
ศาสนาเชน

ศาสนาที่ตายแล้ว
ศาสนาในโลกอาจแบ่งเป็นศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ ศาสนาที่ตายแล้ว และศาสนาที่สาบสูญ

ศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ คือศาสนาที่มีความเป็นสถาบันมีองค์กร มีผู้นับถือเป็นจำนวนมากพอประมาณ มีระบบคำสอน ได้แก่ศาสนาในโลกปัจจุบัน
ศาสนาที่ตายแล้ว คือศาสนาที่เคยมีผู้นับถือ แต่ปัจจุบันแทบไม่มีคนนับถืออีกแล้ว แต่ยังมีหลักฐานให้เรารู้ว่าเคยมีศาสนานี้อยู่ในโลกมาก่อน
ศาสนาที่สาบสูญ คือศาสนาที่เราไม่มีข้อมูลให้รู้ว่าเคยมีศาสนานี้อยู่ในโลกมาก่อน

ศาสนาที่ตายแล้ว

ศาสนาอียิปต์โบราณ
ศาสนาเปรูโบราณ
ศาสนาเม็กซิโกโบราณ
ศาสนามิถรา
ศาสนามาณิกิ
ศาสนาบาบิโลเนี่ยน
ศาสนาสุเมอเลี่ยน-อัคคาเดียน
ศาสนาฮิทไทท์
ศาสนากรีก
ศาสนาโรมัน
ศาสนาเซลติก
ศาสนาสแกนดิเนเวีย-ติวตันโบราณ

ศาสนาในโลกปัจจุบัน

ศาสนาคริสต์
โรมันคาทอลิก
โปรเตสแตนต์
ออร์ทอดอกซ์
ศาสนาอิสลาม
สุหนี่
ชีอะห์
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ไศวะ
ไวษณพ
ศักติ
ศาสนาพุทธ
เถรวาท
มหายาน
ศาสนาซิกข์
นานักปันถิ
ขาลฺสา
นิลิมเล
ศาสนายิว
ออร์ทอดอกซ์ (ฟาริซี)
โปรเกรสซีฟ (ซัดดูคูส)
นักพรต (เอสเซเนส)
ศาสนาเชน
ทิคัมพร
เศวตัมพร
ศาสนาโซโรอัสเตอร์
กัทมิส
ชหันชหิส
ศาสนาบาไฮ

ลัทธิ
ชินโต
ขงจื๊อ
เต๋า
วูดู
พุทธตันตระ
ลัทธิหัวเหา
ลัทธิเก๋าได่
ลัทธิมาณีกี
ลัทธิโอมชินริเกียว
ลัทธิชอนโดเกียว

จำนวนผู้นับถือศาสนาและลัทธิต่างๆ
ศาสนาคริสต์: 2.1 พันล้านคน
ศาสนาอิสลาม: 1.5 พันล้านคน
ไม่นับถือศาสนา/เชื่อในวิทยาศาสตร์แบบตายแล้วสูญ/อศาสนา: 1.1 พันล้านคน
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู: 900 ล้านคน
ศาสนาพุทธ: 376 ล้านคน
ศาสนาซิกข์: 23 ล้านคน
ลัทธิจูเช (นับถือคิมอิลซุง) : 19 ล้านคน
นับถือผี: 15 ล้านคน
ศาสนายิว: 14 ล้านคน
ศาสนาบาไฮ: 7 ล้านคน
ศาสนาโซโรอัสเตอร์: 2.6 ล้านคน
ลัทธิเพแกนใหม่: 1 ล้านคน
ขบวนการราสตาฟาเรียน: 6 แสนคน


สรุป
ความหมายของคำว่า ศาสนา
คำว่า "ศาสนา" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สาสนํ" ถ้าเป็นภาษาบาลีว่า "สาสนํ" มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า "คำสั่งสอน" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Religion" ซึ่งมีศัพท์เดิมมาจากภาษาละตินว่า Religis คำนี้นักปราชญ์ทางภาษาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่ามาจากคำ ๒ คำ คือ Relegere ซึ่งแปลว่า การปฏิบัติต่อ หรือการเกี่ยวข้องด้วยความระมัดระวัง และ Religare ซึ่งแปลว่า ผูกพัน เพราะฉะนั้นคำว่า Religion จึงมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า การปฏิบัติต่อ การเกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณาความหมายตามรูปศัพท์เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถครอบคลุมสารัตถะที่แท้จริงของศาสนาได้ จึงควรจะได้ศึกษาพิจารณาความหมายหรือคำจำกัดความตามเนื้อหาที่นักปราชญทางศาสนาได้ให้ไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้แล้วแต่ประเด็นที่ต้องการเน้นและสภาพแวดล้อม

๑. Max Miller เน้นพุทธิปัญญา (Intellect) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความสามารถหรืออตาจทางจิตซึ่งไม่ขึ้นแก่ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสหรือเหตุผล สามารถนำบุคคลให้เข้าถึงพระเจ้าภายใต้พระนามต่างๆ

๒. Immanuel Kant เน้นศีลธรรม (Moral) กล่าวว่า ศาสนา คือ การยอมรับรู้ถึงหน้าที่ทั้งปวงตามเทวโองการ

๓. Allen Menses เน้นการบูชา (Worship) กล่าวว่า ศาสนา คือ การบูชาพลังที่สูงกว่า

๔. Edward Scribner Ams เน้นสังคม (Society) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความรู้สึกถึงคุณค่าทางสังคมอันสูงสุด

๕. G.W. Stratton เน้นอุดมคติอันสูงส่ง (Supreme Ideal) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความนิยมชมชอบถึงโลกและกลุ่มชนที่มองไม่เห็น

๖. Adams Brown เน้นชีวิต (Life) กล่าวว่า ศาสนา หมายถึงชีวิตของบุคคลในส่วนที่สัมพันธ์กับท่านผู้เหนือมนุษย์ธรรมดาของเขา

๗. หลวงวิจิตรวาทการ เน้นองค์ประกอบของศาสนา กล่าวว่า คำสอนที่จัดเป็นศาสนานั้นต้องเป็นเรื่องที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางจรรยา มีศาสดา มีคณะบุคคลที่รักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนไว้ เช่น พระหรือนักบวช และมีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี

๘. ศ. เสถียร พันธรังสี เน้นลักษณะของศาสนา กล่าวว่า ลักษณะที่เรียกว่าศาสนาได้ มีหลักดังนี้คือ ต้องเป็นเรื่องความเชื่อถือได้โดยมีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางธรรมจรรยา มีศาสดา และมีผู้สืบต่อคำสอนที่เรียกว่าพระหรือนักบวช

๙. อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เน้นลักษณะคำสอน กล่าวว่า คำสอนที่นับว่าเป็นศาสนานั้นว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ คือ ความเชื่อในอำนาจที่มองเห็นไม่ได้ด้วยตาบางอย่าง เช่น อำนาจของธรรม หรือ อำนาจของพระเจ้า มีหลักศีลธรรม มีคำสอนว่าด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต และมีพิธีกรรม

๑๐. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักแสดงกำเนิดและสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในง่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในง่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ

จากคำจำกัดความและทัศนะต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น พอจะสรุปเป็นทัศนะอีกทัศนะหนึ่งได้ว่า

"ศาสนา คือ คำสั่งสอนที่พระศาสดาได้ค้นพบ หรือได้จากเทวโองการซึ่งมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งทางใจ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ให้มวลมนุษยชาติประพฤติปฏิบัติตาม และประกอบพิธีกรรม เพื่อประสบสันติสุขในระดับศีลธรรมจรรยา และสันติภาพอันนิรันดร อันเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต"

source: th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น