THE LIFE OF THE LORD BUDDHA (พุทธประวัติ)
พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนาแห่งความรู้ เพราะเกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาองค์สำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งของโลก พระพุทธเจ้านั้นเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางมหามายา มีประวัติความเป็นมาปรากฎตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดแจ้ง พระประวัติของพระพุทธองค์นั้นพึงทราบโดยสังเขปดังต่อไปนี้
ชาติภูมิ ทางภาคเหนือสุดของชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) มีรัฐที่อุดมสมบูรณ์รัฐหนึ่งชื่อ"สักกะ"หรือ"สักกชนบท"ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำโรหิณี ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศเนปาล กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของรัฐนี้ กษัตริย์ศากยวงศ์ทรงปกครองรัฐนี้สืบต่อกันมาโดยลำดับ จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าสีหนุ ซึ่งมีพระนางกัญจนาเป็นพระอัครมเหสี ต่อมา พระเจ้าสีหนุได้ทรงจัดให้พระราชโอรสองค์ใหญ่พระนามว่า สุทโธทนะ ได้อภิเษกสมรสกับพระนางมหามายา พระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ และพระนางยโสธราอัครมเหสีแห่งกรุงเทวะทหะ โดยทรงประกอบพระราชพิธีขึ้น ณ อโศกอุทยาน กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระเจ้าสีหนุสวรรคตแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ต่อมา
ประสูติ เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๑ ปี พระนางมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ทรงพระสุบินว่า ลูกช้างเผือกเชือกหนึ่ง เข้าสู่พระครรภ์ของพระนาง หลังจากนั้นไม่นานนัก พระนางก็ทรงพระครรภ์ เมื่อพระครรภ์แก่จวนครบทศมาสแล้ว พระนางมหามายาทรงมีพระประสงค์เสด็จกลับไปประทับที่กรุงเทวะทหะ ชั่วคราว เพื่อประสูติพระโอรสในราชตระกูลของพระนางตามประเพณี ถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี) พระนางก็เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยราชบริวารแต่เวลาเช้าพอใกล้ เที่ยงวันก็เสด็จถึงลุมพินีวันราชอุทยานอันตั้งอยู่กึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวะทหะ จึงเสด็จแวะเข้าไปพักผ่อนที่ใต้ต้นสาละ ทันทีนั้นพระนางก็ประชวรพระครรภ์และประสูติพระโอรส (พระพุทธเจ้า) ความทราบถึงพระเจ้าสุทโธทนะ ก็โปรดให้รับพระนางพร้อมด้วยพระโอรสเสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์ หลังจากประสูติแล้ว ๕ วัน ได้มีการประกอบพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระนามพระราชโอรสว่า "สิทธัตถกุมาร" ในพระราชพิธีนี้ได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน เข้ามาฉันอาหารในพระราชวัง และให้มีการทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะตามธรรมเนียมด้วย คณะพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อตรวจดูพระลักษณะถี่ถ้วนแล้ว ส่วนมากได้ร่วมกันทำนายพระลักษณะว่ามีคติเป็น ๒ อย่าง คือ ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะนี้อยู่ครองราชสมบัติก็จักได้เป็นจักรพรรดิ แต่ถ้าเสด็จออกทรงผนวช ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่มีพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่งในคณะพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อ"โกณฑัญญะ"ได้ทำนายพระลักษณะยืนยันว่ามีคติเพียงอย่างเดียว โดยทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะนี้จะต้องเสด็จออกผนวช และจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน
ครั้นถึงวันที่ ๗ นับแต่วันประสูติ พระนางมหามายาพระราชชนนีก็เสด็จสวรรคตเจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ใน ความอภิบาลของพระนางปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระมาตุจฉา(พระน้านาง)ของพระองค์ ซึ่งได้ทรงเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะสืบต่อมา
ทรงผนวช ในปีที่ทรงพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษานั้นเอง เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นรัชทายาทได้เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ๔ ครั้ง ได้ทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บไข้ คนตาย และสมณะ ตามลำดับ ในการเสด็จประ พาส ๓ ครั้ง พระองค์ทรงสลดพระทัยในความทุกข์ยาก และความไม่เที่ยงแท้ ความผันแปรของชีวิต ในครั้งที่ ๔ อัน เป็นครั้งสุดท้ายนั้นเอง พระองค์ทรงทราบว่าพระนางพิมพา พระวรชายาของพระองค์ได้ประสูติพระโอรส และทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวชในคืนวันนั้น
โดยทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ เป็นผู้ตามเสด็จบ่ายพระพักตร์สู่แคว้นมคธตอนใต้ พอเวลาใกล้รุ่งก็เสด็จถึงแม่น้ำอโนมาเข้าสู่ฝั่งของแคว้นมัลละพรมแดนแห่งสักกะกับแคว้นมัลละ เสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาเข้าสู่ฝั่งของแคว้นมัลละประทับยับยั้งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น ทรงตัดพระเมาลีของพระองค์ด้วยพระขรรค์ แล้วทรงอธิฐานเพศบรรพชิตทรงผนวชเป็นสมณะ ณ ฝั่งแม่น้ำนั้น แล้วตรัสสั่งนายฉันนะ ให้นำม้ากัณฐกะ และเครื่องทรงกลับกบิลพัสดุ์ นับแต่รุ่งอรุณวันนั้นเป็นต้นมา พระสิทธัตถะก็เสด็จแรมอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ แต่พระองค์เดียวชั่วเวลาราว ๗ วัน
โดยทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ เป็นผู้ตามเสด็จบ่ายพระพักตร์สู่แคว้นมคธตอนใต้ พอเวลาใกล้รุ่งก็เสด็จถึงแม่น้ำอโนมาเข้าสู่ฝั่งของแคว้นมัลละพรมแดนแห่งสักกะกับแคว้นมัลละ เสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาเข้าสู่ฝั่งของแคว้นมัลละประทับยับยั้งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น ทรงตัดพระเมาลีของพระองค์ด้วยพระขรรค์ แล้วทรงอธิฐานเพศบรรพชิตทรงผนวชเป็นสมณะ ณ ฝั่งแม่น้ำนั้น แล้วตรัสสั่งนายฉันนะ ให้นำม้ากัณฐกะ และเครื่องทรงกลับกบิลพัสดุ์ นับแต่รุ่งอรุณวันนั้นเป็นต้นมา พระสิทธัตถะก็เสด็จแรมอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ แต่พระองค์เดียวชั่วเวลาราว ๗ วัน
source: dhammathai
To Be Continue ...... พระพุทธศาสนา Buddhism (Part 2)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น