นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

หน้าแรก

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นิทานชาดก

นิทานชาดก 500 ชาติ

นิทานชาดก 500 ชาติ คือเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะตรัสรู้ธรรมเป็นพระพุทธเจ้า
นิทานชาดก 500 ชาติ เป็นเรื่องในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แสดงแก่พระภิกษุในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นแบบแผนในการทำความดี หลักธรรมที่ได้จากการรับชม รับฟังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตแก่ตนเองและผู้อื่น

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ตำนานพระปริตร (พิธีกรรมทางศาสนา)



[หัวข้อ:ตำนานพระปริตร]
พระปริตร หมายถึง..พระพุทธวจนะที่มีอานุภาพคุ้งครองอันตรายต่างๆ
พระปริตรมี ๒ แบบคือ..

๑. มหาราชปริตฺต ราชปริตรใหญ่ ๑๒ ตำนาน

๒. จุลฺลราชปริตฺต ราชปริตรน้อย ๗ ตำนาน

พุทธมนต์เจ็ดตำนานมีตำนานที่ท่านกำหนดไว้ ๗ สูตร ดังนี้คือ............

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ยอดคำสอน หลวงปู่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง



ยอดคำสอน หลวงปู่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

ยอดคำสอน เป็นคำสอน เป็นคติ
เป็นปรัชญาสั้นๆ ที่คมลึกซึ้ง
ใครได้ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง
และบางครั้งอาจจะถึงกับอุทาน ออกมาว่า
ท่านคิดและกลั่นกรองคำเหล่านี้ออกมาจากจิตได้อย่างไร
ถ้าจิตนั้นไม่บริสุทธิ์แจ่มใสเยี่ยงผู้บรรลุธรรม
ขอท่านได้สังเกตคำสอน ต่อไปนี้.-

พระพุทธศาสนา Buddhism (Part 5)(The Final)




ทรงโปรดช้างนาฬาคีรี ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตศิษย์ทรยศของพระพุทธองค์ได้ติดสินบนควาญช้างให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี เพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ตามแผนการ แต่ด้วยเมตาจิตของพระพุทธองค์ ช้างตกมันก็หายพยศ กลับคุกเข่าลงหมอบลงตรงพระพักตร์พระพุทธองค์

พระพุทธศาสนา Buddhism (Part 4)




ทรงเปิดประชุมจาตุรงคสันนิบาต Hreurnongcsannibre Meeting ในตอนบ่ายแห่งวันเพ็ญเดือนมาฆะวันนั้นขณะที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากถ้ำสูกรขตา ข้างเขาคิชฌกูฏมาถึงพระเวฬุวันวิหารพระสงฆ์อรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ก็ได้มาชุมนุม พร้อมกันเฉพาะพระพักตร์ต่างองค์ต่างมุ่งมาเฝ้าพระพุทธองค์ในเวลาเดียวกัน ซึ่งการประชุมสงฆ์ครั้งนี้ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ

(๑.) วันนั้นเป็นวันมาฆปุณณมี วันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน มาฆะ
(๒.) พระอริยสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
(๓.) พระอริยสงฆ์ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
(๔.) พระอริยสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุคือ ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์เอง

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขันติวาทิชาดก (โทษที่ทำร้ายพระสมณะ)(นิทานชาดก-บทแทรก)



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "โย เต หตฺเถ จ ปาเท จ" ดังนี้.

เรื่องได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ก็ในที่นี้ พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า "เธอบวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ไม่โกรธ เพราะเหตุไร จึงกระทำความโกรธเล่า โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อเครื่องประหารตั้งพันตกลงบนร่างกาย เมื่อถูกเขาตัดมือเท้า หู และจมูก ก็ยังไม่กระทำความโกรธแก่คนอื่น" แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้ากาสีพระนามว่ากลาปุ ทรงครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ เป็นมาณพชื่อว่ากุณฑลกุมาร เมื่อโตขึ้นได้เล่าเรียนศิลปะทุกอย่างในนครตักศิลาแล้วรวบรามทรัพย์สมบัติตั้งตัว เมื่อบิดามารดาล่วงลับไปจึงมองดูกองทรัพย์แล้วคิดว่า...“ญาติทั้งหลายของเราทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นแล้วไม่ถือเอาไปเลย แต่เราควรจะถือเอาทรัพย์นั้นไป”...จึงจัดแจงทรัพย์ทั้งหมดให้ทรัพย์แก่คนที่ควรให้ ด้วยอำนาจการให้ทาน แล้วเข้าไปบวชที่ป่าหิมพานต์ เลี้ยงอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลาผลไม้อยู่เป็นเวลาช้านาน เมื่อต้องการจะเสพรสเค็มและรสเปรี้ยวจึงไปยังถิ่นมนุษย์ ถึงนครพาราณสีโดยลำดับ แล้วอยู่ในพระราชอุทยาน.

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปาฏิหารย์แห่งการสวดมนต์ Miracle of Prayer



ปัจจุบันนี้ ชาวพุทธส่วนใหญ่นิยมสวดมนต์ทั้งที่บ้าน ที่วัด ที่โรงเรียน ที่ทำงาน และในรถ บางคนมีศรัทธาช่วยกันเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์แจกตามที่ต่างๆ เพราะมีประสบการณ์และพบปาฏิหาริย์ทางใจจากการสวดมนต์เป็นประจำ
หากใครได้เคยไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่อินเดีย โดยเฉพาะที่พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จะเห็นภาพของชาวพุทธทั้งชาวธิเบต อินเดีย ไทย จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ชาวตะวันตกพากันสวดมนต์ด้วยภาษาของตน ดังกึกก้องไปทั่วบริเวณ

แม้ว่าจะสวดคนละภาษาก็จริง ถึงอย่างนั้นเสียงก็ดังกังวานไปทั่ว

แต่เชื่อหรือไม่ว่า ไม่มีใครบ่นว่าหนวกหู หรือเกิดความไม่พอใจจากเสียงรบกวนกัน แต่ละคณะเมื่อมาถึงก็สวดด้วยภาษาของตน เป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากพลังแห่งความศรัทธา เป็นเสียงที่มีพลังความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เกิดปีติขนลุกโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดบรรยากาศอันอิ่มบุญและสุขใจอย่างบอกไม่ถูก

หรือแม้ขณะกำลัง นั่งรถเดินทางไปทัศนศึกษาสถานที่สำคัญ ชาวพุทธก็นิยมสวดมนต์ในรถไปด้วย เพื่อเป็นพุทธานุสสติในการไปเยือนถิ่นอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนพุทธภูมิ ที่สำคัญคือ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วย