นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

หน้าแรก

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ตำนานพระปริตร (พิธีกรรมทางศาสนา)



[หัวข้อ:ตำนานพระปริตร]
พระปริตร หมายถึง..พระพุทธวจนะที่มีอานุภาพคุ้งครองอันตรายต่างๆ
พระปริตรมี ๒ แบบคือ..

๑. มหาราชปริตฺต ราชปริตรใหญ่ ๑๒ ตำนาน

๒. จุลฺลราชปริตฺต ราชปริตรน้อย ๗ ตำนาน

พุทธมนต์เจ็ดตำนานมีตำนานที่ท่านกำหนดไว้ ๗ สูตร ดังนี้คือ............


๑. มงคลสูตร
พระพุทธมนต์เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ๓๘ ประการ และให้ถึงความเจริญรุ่งเรือง

๒. รัตนสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับใช้ขจัดปัดเป่าคุ้มครองป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ และป้องกันอันตรายต่าง ๆ

๓. กรณียเมตตสูตร
พระพุทธมนต์เพื่อความเป็นมิตรและเป็นเมตตาแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

๔. ขันธปริตตสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับคุ้มครองป้องกัน และเป็นเมตตาต่อสัตว์ทุกชนิด

๕. โมรปริตตสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับป้องกันอันตรายไม่ให้มาถึงคน

๖. ธชัคคสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับป้องกันและต่อสู้กับพวกศัตรูและหมู่ปัจจามิตร ทำให้ศัตรูครั่นคร้ามและเกรงกลัว

๗. อาฏานาฏิยสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับป้องกันพวกภูตผีปีศาจ ที่จะมาทำอันตราย

๘. อังคุลิมาลสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับใช้ในการทำน้ำมนต์คลอดบุตร

Note: สำหรับ อังคุลิมาลสูตร” นั้น ใช้ได้ทั้ง ๗ ตำนานและ๑๒ ตำนาน

ส่วนพระพุทธมนต์ ๑๒ ตำนาน มีตำนานท่านกำหนดเป็นสูตรไว้ ๑๒ สูตร ดังนี้...........

๑. มงคลสูตร
พระพุทธมนต์เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ๓๘ ประการ และให้ถึงความเจริญรุ่งเรือง

๒. รัตนสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับใช้ขจัดปัดเป่าคุ้มครองป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ และป้องกันอันตรายต่าง ๆ

๓. กรณียเมตตสูตร
พระพุทธมนต์เพื่อความเป็นมิตรและเป็นเมตตาแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

๔. ขันธปริตตสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับคุ้มครองป้องกัน และเป็นเมตตาต่อสัตว์ทุกชนิด

๕. โมรปริตตสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับป้องกันอันตรายไม่ให้มาถึงคน

๖. วัฏฏกปริตตสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับป้องกันไฟ และป้องกันภยันตรายต่าง ๆ

๗. ธชัคคสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับป้องกันและต่อสู้กับพวกศัตรูและหมู่ปัจจามิตร ทำให้ศัตรูครั่นคร้ามและเกรงกลัว

๘. อาฏานาฏิยสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับป้องกันพวกภูตผีปีศาจที่จะมาทำอันตราย

๙. อังคุลิมาลสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับใช้ในการทำน้ำมนต์คลอดบุตร

๑๐. โพชฌงคปริตตสูตร
พระพุทธมนต์สำหรับขจัดโรคภัยไข้เจ็บ

๑๑. อภยปริตตสูตร
พระพุทธมนต์ว่าด้วยการไม่มีภัย และป้องกันภัยต่าง ๆ

๑๒. ชยปริตตสูตร
พระพุทธมนต์ว่าด้วยชัยชนะ และสำหรับสวดเสริมบารมี

[อรรถาธิบาย:ตำนานพระปริตร]


ตำ น า น พ ร ะ ป ริ ต ร

ตำนานพระปริตร : เ จ็ ด ตำ น า น

โดยทั่วไปพุทธศาสนิกชนมักทำบุญ
โดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดสาธยายบทพระพุทธมนต์ในพิธีมงคล
หรือพิธีที่จัดขึ้นเพื่อความสุขความเจริญ
เป็นสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิตในวาระต่างๆ
ซึ่งมักจะเรียกรวมกันว่าว่า
พิธีเจริญพระพุทธมนต์

คำว่า “พระพุทธมนต์” หมายถึง
พระพุทธพจน์อันเป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า
ที่มีปรากฏในพระไตรปิฏกบ้าง
เป็นคำที่แต่งขึ้นมาภายหลังบ้าง

โดยถือกันว่าพระพุทธมนต์เป็นคำศักดิ์สิทธิ์
สามารถปัดป้องอันตรายต่างๆ ได้
จึงเรียกอีกอย่างว่า “พระปริตร

คำว่า “ปริตร” มีความหมายว่า คุ้มครองรักษา
หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน
ซึ่งบทพระพุทธมนต์ที่นิยมว่าศักดิ์สิทธิ์
เท่าที่ปรากฏรวบรวมไว้มี ๗ บท
จึงเรียกว่า เจ็ดตำนาน

(ตามปกติ คำว่าตำนาน จะหมายถึงเรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบๆ มา
แต่ในที่นี้เป็นการเรียกพระปริตรบทๆ หนึ่งว่า ตำนาน
ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะแผลงมาจาก
คำว่า ตาณ ในภาษาบาลีที่แปลว่า ต้านทาน
หรือป้องกันเช่นเดียวกับคำว่า ปริตร
หรืออาจจะหมายถึงตำนานอันเป็นที่มาของแต่ละพระสูตรก็เป็นได้)

การสวดพระปริตรหรือเจ็ดตำนานนี้
เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศลังกา ราว พ.ศ. ๕๐๐

ด้วยว่าชาวลังกาที่นับถือพุทธศาสนาในขณะนั้น
ประสงค์ให้พระสงฆ์ช่วยเหลือตนให้เกิดสิริมงคล
และป้องกันภยันตรายต่างๆ ด้วยการสวดมนต์
และคาถาตามแบบอย่างพราหมณ์
ซึ่งมีความเชื่อว่าผู้ทรงเวทจะทำให้เกิดสิริมงคล
และป้องกันภยันตรายแก่มหาชนได้

ด้วยเหตุนี้ พระสงฆ์ลังกาจึงได้คิดวิธีสวดพระปริตรขึ้น
โดยเลือกเอาพระสูตรหรือคาถาที่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
อันเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มาสวดเป็นมนต์

โดยการสวดครั้งแรกๆก็ขึ้นกับเหตุการณ์ที่ไปสวด
เช่น ไปสวดพิธีมงคลก็ใช้มงคลสูตรสวด
สวดให้คนเจ็บป่วยก็ใช้โพชฌงคสูตร
ครั้นคนนิยมมากขึ้นก็คิดค้นพระสูตรต่างๆ
มาสวดเป็นพระปริตรมากขึ้นเป็นลำดับ

ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินประเทศลังกา
ก็ได้รับสั่งให้คณะสงฆ์ปรับปรุงพระสูตร
และคาถาที่ใช้สวดพระปริตรขึ้นใหม่ให้เหมาะกับเหตุการณ์
เพื่อใช้ในพระราชพิธีหลวงโดยได้เพิ่มพระสูตรและคาถาให้มากขึ้น
และเรียกว่า “ราชปริตร” แปลว่า มนต์คุ้มครองพระเจ้าแผ่นดิน

ต่อมาประชาชนต่างก็นิยมให้มีการสวดพระปริตรในพิธีของตนบ้าง
จึงเกิดเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

เจ็ดตำนานหรือพระปริตร

ซึ่งหมายถึง มนต์อันเป็นเครื่องป้องกันภยันตรายต่างๆ
มีอยู่ด้วยกัน ๗ พระสูตรคือ

๑. มงคลสูตร
ว่าด้วยเหตุที่จะทำให้เกิดสิริมงคล

๒. รัตนสูตร
ว่าด้วยรัตนทั้ง ๓ คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป

๓. กรณียเมตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญเมตตา ไปไหนมาไหนให้คน เทวดารักใคร่เมตตา

๔. ขันธปริตร
ว่าด้วยพระพุทธมนต์สำหรับป้องกันสัตว์ร้ายพวกอสรพิษ

๕. ธชัคคสูตร
ว่าด้วยการเคารพธงและการรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยทำให้หายหวาดกลัว

๖. อาฏานาฏิยปริตร
ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง

๗. อังคุลิมาลปริตร
ว่าด้วยมนต์ขององคุลีมาล
ใช้ในงานมงคลหรือทำให้คลอดลูกง่าย

----------------------------------------------
สำหรับความเป็นมาของพระสูตรแต่ละเรื่อง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.)
กระทรวงวัฒนธรรมได้สรุปส่วนหนึ่ง
จากหนังสือ “วรรณคดีขนบประเพณีฯ”
ของอาจารย์เบญจมาศ พลอินทร์ ความว่า

• มงคลสูตร

เกิดจากชาวชมพูทวีปต่างถกเถียง
และตกลงกันไม่ได้ว่ามงคลคืออะไร
จึงพากันไปทูลถามพระพุทธเจ้า

ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ให้คำตอบว่า

สิ่งอันเป็นมงคลในชีวิตมี ๓๘ ประการ
หรือที่ชาวพุทธรู้จักในนาม มงคล ๓๘ นั่นเอง
เช่น ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต วาจาเป็นสุภาษิต ฯลฯ

ซึ่งธรรมอันเป็นมงคลนี้
พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดาปฏิบัติ
ก็ล้วนเป็นสิริมงคลแก่ตัวทั้งสิ้น

• รัตนสูตร

เล่ากันว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิดทุพภิกภัย
ฝนแล้งข้าวยากหมากแพง
คนล้มตายเพราะความอดอยาก
ประชาชนก็ไปร้องต่อพระเจ้าแผ่นดิน

พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้ประชาชนตรวจสอบพระองค์ว่า
ผิดธรรมข้อใดหรือเปล่า จึงเกิดเหตุเช่นนี้
ก็ปรากฏว่าไม่ผิดธรรมข้อใด
จึงพากันไปอาราธนาพระพุทธเจ้ามาเมืองไพสาลี

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงก็ปรากฏว่ามีฝนตกมาห่าใหญ่
ครั้นนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสเรียกพระอานนท์ให้มาเรียนรัตนสูตร

อันมีเนื้อความสรรเสริญแก้ววิเศษ ๓ ประการ
ที่ไม่มีแก้วอื่นใดเสมอเหมือนคือพุทธรัตนะ ธัมมรัตนะ และสังฆรัตนะ
และทำให้ผู้สวด ผู้ฟัง ผู้บูชาและผู้ระลึกถึงประสบแต่ความสวัสดี

ซึ่งเมื่อพระอานนท์เรียนจากพระพุทธองค์
ก็นำบาตรน้ำมนต์ของพระพุทธเจ้าไปประพรมทั่วนครไพสาลี
เมื่อน้ำพระพุทธมนต์ไปถูกพวกปีศาจๆ ก็หนีไป
ไปถูกมนุษย์ที่เจ็บป่วย โรคเหล่านั้นก็หายสิ้น
แต่นั้นมาชาวเมืองก็มีความสงบสุขตลอดมา

• กรณียเมตตสูตร

เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระภิกษุ ๕๐๐ รูป
ที่ได้เรียนกัมมัฏฐานแล้วคิดจะหาสถานที่สงบบำเพ็ญธรรม

เมื่อเดินทางไปถึงหมู่บ้านหนึ่ง
ชาวบ้านเห็นก็เลื่อมใสยินดีนิมนต์ให้อยู่ปฏิบัติธรรม
พร้อมทั้งสร้างกุฏิให้

ปรากฏว่าทำให้เทวดาที่อยู่ละแวกนั้นเดือดร้อน ไม่มีที่อยู่
จึงได้แสดงอาการน่ากลัวต่างๆ มาหลอกพระภิกษุ
เมื่อพระภิกษุเห็นก็เกิดความหวาดกลัว
ไม่อาจทำจิตใจให้เป็นสมาธิได้
จึงพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์

พระองค์จึงได้สอน กรณียเมตตสูตร อันมีเนื้อความว่า

ขอให้บุคคลเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง ว่าง่าย
อ่อนโยนไม่หยิ่งยะโส มีสันโดษ
ไม่ประกอบกรรมที่ผู้รู้ติเตียน
อย่าดูหมิ่นหรือหาทุกข์ให้กัน ฯลฯ

เมื่อพระภิกษุกลับไปและนำไปสวดสาธยาย
เหล่าเทวดาก็เกิดความเมตตาแก่พระภิกษุ
มิได้สำแดงอาการอย่างใดอีก
ทำให้พระภิกษุบำเพ็ญธรรมได้เต็มที่
พระสูตรบทนี้ถือเป็นบทแนะนำวิธีสร้างเมตตามหานิยม
สร้างเสน่ห์แก่ตนเอง

• ขันธปริตร

เกิดจากพระภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดที่เท้า
ทนพิษไม่ไหวถึงแก่มรณภาพ

เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง
จึงตรัสสอนให้พระภิกษุรู้จักแผ่เมตตาแก่สกุลพญางูทั้งสี่
คือ พญางูวิรูปักข์ พญางูเอราบถ พญางูฉัพยาบุตร
และพญางูกัณหาโคตมะ

ซึ่งมีเนื้อความว่า

ไมตรีของเราจงมีแก่สกุลพญางูทั้งสี่
ตลอดทั้งสัตว์สองเท้า สี่เท้า อย่าเบียดเบียนเรา
สัตว์ทั้งหลาย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้น
มีประมาณไม่มากเหมือนคุณพระรัตนตรัย
เราทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่
ขอสัตว์ร้ายจงหลีกไป

ในทางความเชื่อ
พระพุทธมนต์บทนี้ใช้ภาวนาป้องกันอสรพิษทุกชนิดได้

แต่กล่าวกันว่า ในงานพิธีทั่วไปไม่นิยมขึ้นต้นที่ “วิรูปกฺเข
เพราะเชื่อว่าเป็นบทปลุกผีให้ออกมาอาละวาด
พระมักจะขึ้นที่ “อปปฺมาโณ”

• ธชัคคสูตร

มาจากที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าให้พระภิกษุฟังว่า

เมื่อเทวดากับอสูรรบกัน
ท้าวสักกะซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่เทวดา
ได้แนะให้เหล่าเทวดาที่เกิดความกลัว หวาดสะดุ้ง
หรือขนพองสยองเกล้า
ได้แลดูชายธงของเทวราชทั้งหลาย
เพื่อให้คลายจากความกลัว

แต่พระพุทธองค์กล่าวว่าการดูธงของเหล่าเทวราช
อาจจะทำให้หายหรือไม่หายกลัวก็ได้
เพราะเหล่าเทวดายังไม่ละกิเลส
อย่างไรก็ยังต้องมีความหวาดกลัวอยู่

ดังนั้น จึงสอนให้พระภิกษุเชื่อ
และยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแห่งจิตใจ
จะทำให้คลายจากความกลัว
และรู้สึกปลอดภัยไม่หวั่นไหว

บทนี้มักจะใช้สวดในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าธงไชยเฉลิมพล

• อาฏานาฏิยปริตร

เกิดเมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่คือ
ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสุวัณ
ตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
แต่เกรงว่าหากพวกอสูรรู้ว่าบนดาวดึงส์ไม่มีใครอยู่
ก็อาจถือโอกาสมากวน
ซึ่งพวกตนก็อาจกลับมาไม่ทัน

จึงได้จัดตั้งกองทหารไว้ ๔ กอง
ประกอบด้วยคนธรรพ์ ยักษ์ นาครักษาแต่ละทิศไว้
แล้วพากันไปประชุมที่อาฏานาฏิยนคร
แล้วผูกมนต์เป็นอาฏานาฏิยปริตรขึ้น
จากนั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมบริวารเป็นจำนวนมาก

แต่ปรากฏว่าบริวารของท้าวมหาราชเหล่านี้
ต่างก็มีปฏิกิริยาต่อพระพุทธองค์ต่างๆ กัน
เพราะบ้างก็นับถือ บ้างก็ไม่เชื่อถือ

จนเป็นเหตุให้บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้าที่ไปบำเพ็ญธรรมตามที่ต่างๆ
ต้องถูกผี ปีศาจ ยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสเหล่านี้รบกวน
จนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเป็นอันตรายต่างๆ นานา

ท้าวเวสสวัณจึงได้กราบทูล
ขอให้พระพุทธองค์รับอาฏานาฏิยปริตร
ไว้ประทานแก่สาวกของพระองค์
เพื่อป้องกันมิให้ยักษ์ และภูตผีปีศาจรบกวน

ซึ่งเนื้อความ

เป็นการสรรเสริญพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์
และขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยกาย วาจา ใจ
ไม่ว่าเวลานอน เดิน นั่ง หรือยืน
ขอให้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้คุ้มครองรักษาให้พ้นภัย พ้นโรค
และความเดือดร้อนต่างๆ

ปริตรบทนี้ใครเจริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์
เชื่อว่ายักษ์ ผี ปีศาจก็จะช่วยคุ้มครองให้มีความสุขความเจริญ

source: ลานธรรมจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น